หน้าแรก » เปิดกรุ

บทความ

เก็บตก “ค่ายพัฒนานักออกแบบตัวพิมพ์” 3/3

โดย • 16/05/2554

หลังจากเว็บมาสเตอร์ไปแหวกว่ายในทะเลงานมาพักใหญ่ บัดนี้ได้เวลาสรุปภาคจบของค่ายฟอนต์ซะทีครับ! ตอนสุดท้ายนี้นี่เป็นบันทึกจากการเข้าร่วมในโครงการ “ค่ายพัฒนานักออกแบบตัวพิมพ์” (อ่านย้อนตอนที่ 1 / 2 ได้นะ) คราวนี้เนื้อหาจะเป็นเรื่องเทคนิคการทำฟอนต์และการออกแบบฟอนต์ในเชิงพาณิชย์ ว่าเขาทำกันยังไง ขายกันที่ไหน สนใจคลิกอ่านได้เลยครับ

เก็บตก “ค่ายพัฒนานักออกแบบตัวพิมพ์” 2/3

โดย • 04/05/2554

ต่อจากตอนที่แล้ว: เก็บตก “ค่ายพัฒนานักออกแบบตัวพิมพ์” (ตอนที่ 1) คราวนี้เรามาต่อกันด้วยการบรรยายของวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบตัวอักษรขั้นเทพของไทย คือ อ.ปริญญา โรจน์อารยานนท์, อ.ไพโรจน์ ธีระประภา (โรจ สยามรวย) และ อ.เอกลักษณ์ เพียรพนาเวชครับ ขออภัยที่คราวนี้เขียนยาวกว่าเดิมมากๆ แต่สำหรับผู้สนใจแล้ว นี่คือความรู้จากผู้เชี่ยวชาญที่มีคุณค่ามากๆ เลยจ้ะ สนใจแล้วก็อ่านต่ออย่างตั้งใจได้เลย!

เก็บตก “ค่ายพัฒนานักออกแบบตัวพิมพ์” 1/3

โดย • 01/05/2554

นานๆ ทีจะเขียนบล็อกบทความยาวๆ สักครั้ง ด้วยเห็นว่าในครั้งนี้ผม (ในนามของเว็บมาสเตอร์ฟอนต์.คอม) ได้รับเกียรติจาก “ชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย” ให้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินผลงานและวิทยากรร่วม เลยได้มีการสรุปการบรรยายและบรรยากาศต่างๆ มาให้ผู้สนใจได้อ่านกัน ยาว(ไม่)หน่อยนะครับ แต่สนุกน่าดูเลยแหละ!

ออกแบบอย่างไรโดยไม่ต้องใช้กราฟิก?

โดย • 09/12/2553

นิตยสาร Before & After เป็นแหล่งข้อมูล ทิป เทคนิคและแรงบันดาลใจ ในการทำงานออกแบบเยอะแยะมากมายครับ คราวนี้ก็เป็นอีกครั้งที่ BA เขาทำคลิปบทความแนะนำเทคนิคการออกแบบเลย์เอาต์สวยๆ โดยไม่ต้องยุ่งกับภาพประกอบ ลองดูวิธีการจัดวางพื้นที่ การเลือกใช้ฟอนต์ และข้อควรระวังอื่นๆ ดูครับ มีประโยขน์มากๆ เลยนะสำหรับคนทำงานออกแบบ

ฟอนต์อะไรใช้ได้กับทุกเว็บ?

โดย • 04/07/2553

มีคำถามประเภทนึงครับ ที่มีผู้สนใจมาถามในฟอรั่มฟอนต์บ่อยๆ ก็คือ “ฟอนต์ xxxx จะใช้ในเว็บได้ไหม” พอตอบว่าได้และไม่ได้ (คือได้แหละ แต่อธิบายยากชะมัด) ก็จะเจอคำถามต่อมาว่า “แล้วถ้าอยากเห็นฟอนต์เราบนเว็บล่ะ จะทำยังไง” ส่วนมากเวลาตอบก็เลยจะโยนลิงก์ที่เกี่ยวข้องไปให้ (มีในบทความที่เกี่ยวข้องข้างล่างนี่แหละจ้ะ)

มาอีกแล้ว Photoshop Text Effects สนุกๆ เพียบ

โดย • 29/04/2553

มาอีกแล้วจ้ะ Photoshop Text Effects เปรี้ยวๆ คราวนี้เอามาฝาก 34 สไตล์ให้ลองฝึกฝีมือออกแบบและดีไซน์งานไทโปกันครับ! ไม่พูดมากกันละ ลุยเลย!
กดไปดูพลัน Photoshop Text Effect Tutorials[Six Revisions]

บันทึกการร่างฟอนต์ของ humanoid

โดย • 03/03/2553

มีกระทู้ดีๆ มาให้อ่านครับ (ในฟอนต์เราเรียก “กระจู๋”) ว่าด้วยบันทึกการสร้างฟอนต์ตัวใหม่ของคุณ humanoid เจ้าของฟอนต์ ซูเปอร์มาร์เก็ต อันลือลั่นสนั่นบาง จนใครๆ ก็งงว่าเฮ้ย นี่ทำมาแจกฟรีจริงๆ เหรอ! แล้วฟอนต์ตัวต่อไปของหนุ่มไฟแรงอนาคตไกลคนนี้จะเป็นอย่างไร เข้ามาอ่านและพูดคุย ตามติด(และกดดัน) นักออกแบบดาวรุ่ง(ใช้คำเช้ยเชย)คนนี้กันเถอะ!

เรียบง่ายสไตล์ Helvetica

โดย • 24/02/2553

กว่า 50 ปีมาแล้วที่ฟอนต์ตรา Helvetica ปรากฏตัวขึ้นมาบนโลก และสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับวงการออกแบบมากมาย จนเรียกได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่าฟอนต์ Helvetica นี้เป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญสู่การออกแบบสมัยใหม่ ทั้งๆ ที่หน้าตาของมันเรียบง่าย แต่ก็แน่ล่ะ กว่าจะผ่านอะไรต่อมิอะไรมาจนมันเรียบง่ายได้ขนาดนี้ ก็ต้องฝ่าฟันอุปสรรคมาน่าดู .. จนทุกวันนี้ถ้าคุณเดินอยู่ในเมืองสักหน่อย เชื่อเถอะครับว่าไม่ว่าจะหันหน้าไปทางไหน ก็ต้องเจอเข้าสักแว้บล่ะน่า (ถ้าเป็นเมืองนอกนี่เจอมันทุกหัวโค้งเลย) .. เล่ามายาวเหยียดขนาดนี้ คุณผู้อ่านที่ไม่เคยรู้จักหรือไม่เคยคิดจะสัมผัสมันมาก่อน คง

ฟอนต์อะไรหมึกหมดไวกว่ากัน?

โดย • 04/02/2553

เออ นั่นสิ อยากรู้กันไหมครับว่าเวลาเราเลือกใช้ฟอนต์แต่ละแบบเนี่ย ตัวไหนที่ประหยัดหมึกหรือเปลืองหมึกกว่ากัน? คือที่เมืองนอกเขามีอีตา Matt Robinson และ Tom Wrigglesworth นักออกแบบที่เกิดสงสัยเรื่องนี้ขึ้นมา ก็เลยทำการทดลองด้วยการใช้ปากกาลูกลื่นนี่แหละครับ เขียนๆ ระบายๆ หมึกลงไปบนผนังให้เป็นรูปฟอนต์ต่างๆ (ฟอนต์ฝรั่งนะครับ) และพบว่าถ้าจะประหยัดหมึก ให้ใช้ Garamond!

ประวัติย่นย่อของเครื่องหมาย Ampersand (&)

โดย • 15/01/2553

มีบทความดีๆ ว่าด้วยประวัติศาสตร์และที่มาที่ไปของเครื่องหมาย ampersand (ก็คือเครื่องหมาย “&”) นั่นแหละ ที่คุณอาจจะสงสัยว่าทำไมต้องออกแบบหน้าตาให้มันพิลึกกึกกือขนาดนั้นด้วยนะ ผมเองก็เพิ่งรู้เหมือนกันว่ามันมาจากการควบอักษร e และ t ในภาษาละติน แล้วบร๊วบไปบร๊วบมาจนกลายเป็นขนม Aunty Anne\’s ไปในที่สุด! โอ้ว สนใจกันแล้วใช่มะล่า กดไปอ่านและดูรูปแบบที่หลากหลายของเครื่องหมาย “&” กัน ว่าถึงจะชื่อ ampersand เหมือนกัน แต่ดีไซน์ของแต่ละฟอนต์นั้นแตกต่างกันมหัศจรรย์พิสดารขนาดไหน