ความเป็นมา : เป็นฟอนต์ที่ทำแล้วถูกทิ้งไว้ เนื่องจากเจอสภาวะ burnout ในการทำฟอนต์ ปัจจุบัน (2567) พยายามฟื้นพลังในการทำฟอนต์ เลยกลับมารื้อๆ ฟื้นเสริมแรงให้ตัวเอง โหลดไปใช้กันเถอะ
เป็นฟอนต์ที่บูชา ครูชุ่ม สุวรรณช่าง เป็นครูช่างของเมืองเพชร ย่านวัดเกาะ จุดต้นแบบมาจากคำว่าเจียมจิต ลายมือของครูชุ่ม แล้วก็รวบรวมฟอนต์ลักษณะเดียวกันรายรอบย่านวัดเกาะ และเพิ่มตัวละตินให้เป็นชุดฟอนต์ขึ้นมา
ฟอนต์ เสมอหน้า เป็นฟอนต์ที่ได้แรงบันดาลมาจากป้ายหลัก 6 ประการ เลยเอามาออกแบบที่พยายามยึดหลักตามป้าย เท่าที่จะมีความสามารถทำได้ ที่จริงก็อยากให้มันเท่ากันทั้งหมดตลอดทั้งสระวรรณยุกต์ แต่เขียนโปรแกรมไม่เป็น 55555
เป็นฟอนต์ที่ทำค้างข้ามปีมาหลายปีมาก พอดีช่วงที่ผ่านมาไม่มีงานจ้างเลยว่าง 555 เลยใช้เป็นโอกาสสินะ เข้าเรื่อง เป็นฟอนต์ที่ได้แรงบันดาลใจมาก่ารคัดลายมือ Calligrahy มี 2 ตัว ตัวแรกเป็นต้วธรรมดา กับอีกตัวเป็นตัวตวัดหางเหวี่ยงไปมาขึ้นขึ้นลงลงยาวยาว
สรรพคุณ : เป็นฟอนต์พาดหัว ที่ได้แรงบันดาลไทยมาจากป้ายปูนต่างๆ ของวัดในเพชรบุรี แล้วนำมาพัฒนาไปพัฒนามา ปรับไปปรับมาจนออกมาอย่างที่เห็น เชยๆ แล้วเชยๆ อีก 5555
สรรพคุณ: ฟอนต์ตัวนี้ผ่านการดองไว้มากว่า 5-6 ปี ฤทธิ์ฟอนต์จึงแรงกล้ามาก 5555
ด้วยความชอบดูหนังญี่ปุ่น เลยคิดจะทำฟอนต์ญี่ปุ่น ที่เป็นแบบลายเส้นพู่กันของตัวเองขึ้นมา วิธีการเขียนจึงไม่ได้ตามแบบฉบับการเขียนตัวอักษรญี่ปุ่นสักเท่าไหร่ จับเอาแค่อารมณ์มาเพียวๆ (อารมณ์จากหนังญี่ปุ่น อิคึ อิไต)
ได้แรงบันดาลใจมาจากตัวริบบิ้นที่พบเจอตามป้ายวัดในชุมชนต่างๆ พยายามออกแบบให้ความรู้สึกเก่าๆ บ้านๆ วัดๆ ห่างๆไกลๆ รวมถึงพยายามลบมุมต่างๆให้มล ไหลๆ เป็นที่มาของชื่อ น้ำมล
เป็นฟอนต์ที่เริ่มจากตัวหนาก่อน เพราะอยากทดลองขลิบร่องต่างๆ ไม่ให้ดูหนาเกินไป แล้วก็เพิ่งมาทำตัวบางต่อ (เป็นของแถม) เพราะตอนแรกจะไม่ทำตัวบาง แต่ก็เพื่อให้มันใช้ได้ง่ายขึ้นเลยทำแถมขึ้นมา 5555
เป็นฟอนต์ที่ทดลองเล่นกับฟอนต์แนว didot (ทำความรู้จักได้ที่นี่) เหมาะกับการใช้เป็น พาดหัว, ข้อความสั้นๆ, แสดงผลเป็นตัวใหญ่ๆ หรือเน้นข้อความครับ