ฟอนต์ฝักขาม ๑๙๕๔ ถอดแบบมาจาก จารึก ลพ.๙ โดยอ้างอิงข้อมูลจาก หนังสือ “อักษรฝักขามที่พบในศิลาจารึกภาคเหนือ” ใช้สำหรับเอกสารที่อยู่ในช่วง พ.ศ. ๑๙๕๔ – ๑๙๙๙ นะจ๊ะ
พิมพ์ไปได้ลายเซ็น แต่ไม่อยากให้เหมือนลายเซ็นมากเกินไปจึงทำขนาดเส้นให้เท่ากันและไม่สะบัดปลายเหมือนรุ่นแรก แถมมีลายน้ำไว้ให้สังเกตว่าเป็นฟอนต์ (ถ้าไม่อยากได้ลายน้ำรบกวนลบเอาเองนะจ๊ะ) ..ทำเป็นงานทดลองศักยภาพของการออกแบบฟอนต์ ไม่ได้เพื่อใช้งานจริง.. อย่าว่ากันนะ
SOV_Rataphan2498 (รัตพันธุ์ พ.ศ.๒๔๙๘)
ฟอนต์ตามคำขอ พระอาจารย์วัดวิเวกวนาราม ได้ส่งแบบอักษรมาให้ดู ผมเห็นว่า พ.ศ. ๒๔๙๘ คือเมื่อ 64 ปี ก่อน.. น่าสนใจ อักษรที่มีค่อนข้างเยอะ ถ้า scan รูปมาทำฟอนต์ ก็เหลือด้นอักษรอยู่ไม่กี่ตัว มีแต่ภาษาไทยนะครับ ขอขอบพระคุณเจ้าของลายมือ และพระอาจารย์มา ณ ที่นี่ด้วย
ติดตาม Facebook อักษรตัวเขียน ติดใจในลายมือ อ.จินดา เนื่องจำนงค์ โดยเฉพาะตัว Calligraphy ภาษาไทย ที่อาจารย์นำมาประยุกต์ใช้กับปากกาหัวตัด พู่กันแบน หรือแม้แต่กิ่งไม้เหลา จึงเก็บสะสมตัวอักษรที่อาจารย์เขียนมาเรื่อยๆ เพื่อศึกษาแนวทางในการทำฟอนต์ พบว่า ฟอนต์เดียวไม่เพียงพอ
เป็นฟอนต์ตามคำขอ จากเพื่อนผู้เชี่ยวชาญภาพเก่า เรื่องเก่าๆ ในเมืองไทย… ถามว่าเคยทำฟอนต์ราชดำเนิน ตัวกลมๆ หรือยัง แล้วส่งรูปให้ดู ผมเห็นว่าเก๋ไก๋ดี ก็เลยลองทำตามแบบในรูปเก่าๆ ที่เพื่อนส่งมาให้ดูครับ นำไปใช้ได้ตามสะดวก
Variable Font ที่ทำเป็นฟอนต์แปลงร่างจากตัวอักษรไปเป็นรูปภาพ เหมือนสมัยหัดอ่าน ก.ไก่, ข.ไข่, A – Ant, B – Bird เหมาะสำหรับแสดงผลบนเว็บ เพราะมีการเปลี่ยนรูปร่างได้