ฟอนต์รวมร่าง แนวคิดจาก ALS lamon font ตัวเขียนซ้อนและซ่อนในตัวพิมพ์ ตอนแรกมันเนียนเกินไป เลยปรับเส้นตัวเขียนให้บางมาก
ฟอนต์สายน้ำ ทำเล่นๆ ขำๆ “เมื่อฟอนต์ยมกตกน้ำ” ส่วนจมน้ำจะเปลี่ยนร่างโค้งมน มีเส้นสายน้ำกลางอักษร อ่านค่อนข้างยาก
ฟอนต์รุ่งโรจน์ ต้นทางจากป้ายร้านค้าเก่าแก่ข้างถนนใหญ่ ผ่านทีไรก็ต้องหันไปมอง รูปร่างผอมสูง ดูสะอาดตา แต่ก็อ่านไม่ง่ายนัก อยู่เป็นกลุ่มอักษรดูน่าสนใจกว่าคำเดี่ยวสั้นๆ
ฟอนต์พรหมลิขิต เป็นฟอนต์คู่ ฟอนต์ปรกติตัวพิมพ์ ฟอนต์เอียงตัวเขียน พิเศษคือสามารถซ้อนตัวเขียนกับตัวพิมพ์ได้ แม้ใช้สีเดียวกันก็ยังมองเห็น
ฟอนต์ซ้อน เป็นการทดลองทำ reverse direction คือทำอักษรให้ทิศทางของเส้นที่วาดสวนทางกับตัวปรกติ เพื่อให้เวลาอักษรซ้อนกันแล้วเกิดรูทะลุ
ฟอนต์กลับบ้าน อักษรแนวปากกาเส้นบาง… แนวตั้งหนากว่าแนวนอนจิ๊ดเดียว เส้นอักษรเชื่อมกัน ค่อนข้างกินที่ ใช้เป็นพาดหัวน่าจะดีกว่า
ฟอนต์ยมก ได้แนวคิดมาจาก modern elegant font ที่จะมี ligature typeface เชื่อมคู่อักษร เป็นบางคู่… ใช้เป็นพาดหัว
ฟอนต์นวลอนงค์ ออกแบบจากโครงสร้างของฟอนต์ serif เส้นหนาบางที่คุ้นตา แล้วปรับส่วน serif ปลายเส้นบางให้เป็นโค้งหยดน้ำปลายแหลมนำสายตา แทนเส้นบาง เพื่อความอ่อนช้อย.. แต่ทำเส้นหลักค่อนข้างหนา จึงเหมาะกับพาดหัวมากกว่า
ฟอนต์ทรงสมัย ออกแบบสำหรับรูปยานยนต์ หุ่นยนต์… ตัดเส้นเชื่อม ลดเส้นโค้ง เหลือแค่ทรงเหลี่ยม ทรงกลม ประกอบกัน อ่านค่อนข้างยาก ใช้พาดหัวพอไหว… ประโยคยาวๆ อย่าได้ใช้ (เช่นเคย)