ฟอนต์นวลอนงค์ ออกแบบจากโครงสร้างของฟอนต์ serif เส้นหนาบางที่คุ้นตา แล้วปรับส่วน serif ปลายเส้นบางให้เป็นโค้งหยดน้ำปลายแหลมนำสายตา แทนเส้นบาง เพื่อความอ่อนช้อย.. แต่ทำเส้นหลักค่อนข้างหนา จึงเหมาะกับพาดหัวมากกว่า
ฟอนต์ทรงสมัย ออกแบบสำหรับรูปยานยนต์ หุ่นยนต์… ตัดเส้นเชื่อม ลดเส้นโค้ง เหลือแค่ทรงเหลี่ยม ทรงกลม ประกอบกัน อ่านค่อนข้างยาก ใช้พาดหัวพอไหว… ประโยคยาวๆ อย่าได้ใช้ (เช่นเคย)
ฟอนต์แมวเซียม ต้นทางจากปกหนังสือ มิวเซียม ฤๅ รัตนโกษ พ.ศ. ๒๔๒๐ ตัวโปร่งใส แลกินที่มาก เหมาะใช้พาดหัวบนพื้นสีเรียบๆ
ฟอนต์จักรวาล ที่มาจากรูปชุดนี้ไม่มีโอกาสเอามาภาพประกอบสักที ก็เลยทำฟอนต์นี้แทรกคิวขึ้นมา…จ้ะ
สังโยชน์ คือ กิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมในวัฏฏะ ฟอนต์สังโยชน์ เส้นของอักษรเกี่ยวเนื่องจากตัวก่อนหน้า แต่ไม่ได้เป็นเส้นต่อเนื่องอย่างเคย ได้แนวคิดต่อยอดจาก เพจวิถีเด็กเส้น
ฟอนต์เศษส่วน ต้นทางจากหนังสือ เสนาศึกษาและแผ่วิทยาศาสตร์ พ.ศ.๒๔๖๖ ไม่ได้ทำให้สระอาชิดอักษรนำอย่างต้นฉบับ
ฟอนต์มณีจันทร์ เป็นอักษรปากกาหัวตัด… ตวัดปลายได้หลายแบบ แล้วแต่ผู้ใช้งานชอบใจ (ลองใส่ ฯ นำหน้าตัวอักษร ใส่เพิ่มไปเรื่อยๆ) ขอให้สนุกกับการใช้งาน :)
ฟอนต์น้อยแต่ยาก ที่มาจากการพูดผิด จาก “น้อยแต่มาก” กลายเป็น “น้อยแต่ยาก” คำนี้ทำให้นึกถึง calligraphy font “minimum” ที่มักถูกล้อว่าเป็น “รั้ว”