FT ย่อมาจากคำว่า “Fine Tune” ซึ่งคุณปริญญา โรจอารยานนท์ แห่ง “ดีบี ดีไซน์” ปรมาจารย์ด้านการออกแบบตัวพิมพ์แถวหน้าและผู้บุกเบิกวงการดิจิทัลฟอนต์ของไทย เป็นผู้ตั้งนามนี้ให้ ด้วยเจตนารมณ์ที่จะให้ทั้งผู้ตัวสร้างสรรค์และผลงานการสร้างสรรค์ตัวพิมพ์ตระกูล FT มีความหมายและผลลัพธ์เฉกเช่นนามที่ให้ไว้ คือ “การปรับแต่งอย่างละเอียด” อันเป็นถือเป็นเคล็ดวิชาหรือหัวใจที่สำคัญสำหรับการออกแบบตัวพิมพ์
ฟอนต์ชุด FT Meuang (เอฟที เมือง) แบบตัวพิมพ์ไทย-โรมัน 16 Typestyles สไตล์เลขนศิลป์ล้านนา แจกให้ใช้ฟรีโดย FT Font
รวมงาน Typography ฝรั่งโบราณๆ สวยๆ
เจองาน Typography ย้อนยุคของฝรั่งมาครับ เล่นกับตัวอักษรได้วิจิตรหยดย้อยดี เลยเอาตัวอย่างงานมาให้ชิมก่อนสามชิ้น
ตามไปดูได้ที่: 50 Great Examples Of Vintage Typography [topdesignmag.com]
ชวนมาเล่นเกม “ดัดอักษร” เพลินๆ ครับ
น้ำท่วมยามนี้ หลายคนอยู่บ้านไม่รู้จะทำอะไร หลายคนก็ชิ่งออกจากบ้านเรียบร้อย จะทำงานทำการก็ไม่สะดวก .. งั้นเรามาเบล่นเกมเพลินๆ กันครับ เกมนี้ชื่อ “Shape Type”
โดยวิธีเล่นเกมนี้ก็ไม่ยากเลยครับ เขาจะมีแบบตัวอักษรเป็นเส้นเวกเตอร์ ที่ดัดเกือบเสร็จละ เหลืออีกนิดเดียวเท่านั้น ซึ่งอีตรงที่เหลือนิดเดียวที่ว่านั่นก็จะให้คุณมาดัดให้เสร็จออกมาเป็นฟอนต์ เสร็จแล้วมันก็จะเปรียบเทียบให้ว่าเนียนไหม ถ้ายอ่งเนียนมากเท่าไหร่ ก็จะได้คะแนนเป็นเลขเปอร์เซ็นต์มากเท่านั้นครับ
“เอกเขนก” ฟอนต์สบายๆ สไตล์เอกเขนกทำ
ฟอนต์นี้ทำสนุกมากค่ะ ใช้ลายมือตัวเองเป็นพิมพ์เขียว
ตั้งใจให้มีความเป็นฟอนต์ลายมือมากที่สุด อักขระทุกตัวเลยใช้วิธีเขียนใหม่หมด
ลองสังเกตดูนะเอ้อ สระบนล่างไม้เอกไม้โทบางทีไม่เหมือนกันนะ ^^
ปล่อยฟอนต์รับน้ำท่วม เชื่อมั่นในหัวใจคนไทยฮะ
“2554 ed_crub Artnarong” เป็นฟอนต์ตัวที่สองครับ
เอกลักษณ์ คือ เส้นบนตัดตรง หัวกลมแต่ตัดขาดไม่เชื่อมกัน ขลิบปลาย…. (อุ๊ย หวาดเสียว)
ฟอนต์ 2554 ed_crub Artnarong เหมาะกับการเป็นข้อความ(รีเปล่า)
อาจเป็นตัวดิสเพลย์ได้บ้าง (เหรอ) ลองๆ กันดูแล้วกันครับ :P
เอาเป็นว่า **โปรดใช้วิจารณญาณในการเลือกฟอนต์** ตามนั้นครับ
ฟอนต์ตัวนี้เป็นฟอนต์ที่ปรับปรุงมาจาก Layiji มหานิยม เบา รุ่น 1.0 และ 1.1 ครับ
สำหรับผู้ที่ต้องการใช้รุ่นเก่าก็ตามไปโหลดได้เลย แต่ตัวนี้ปรับรุ่นพัฒนาอะไรข้างในพร้อมปรับดีไซน์ใหม่อีกหน่อย มีอะไรบ้างลองดูกันนะ
RD CHULAJARUEK 1.02
ฟอนต์ตัวนี้เป็นฟอนต์ตัวแรกในชีวิตของเจ้าของฟอนต์ครับ รูปแบบฟอนต์ได้รับแรงบันดาลใจมาจากโปรแกรม CU-WRITER
หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “CW” นั่นเอง เป็นโปรแกรม Word Processor ที่รันบนระบบปฏิบัติการ DOS เมื่อสมัยที่เรายังใช้ CPU ความเร็วแค่ 44 MHz และใช้แรมแค่ 4 MB นั่นแหละครับ แรกเริ่มเดิมทีมันเลยชื่อว่า REROYD MONOTYPE CW CLONE ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นชื่อ RD CHULAJARUEK ตามชื่อภาษาไทยของตัวโปรแกรม CU-WRITER นั่นเอง
เป็น อยู่ คือ : อนุทิน วงศ์สรรคกร
เทปบันทึกภาพรายการ “เป็น อยู่ คือ” ออกอากาศทางสถานี ไทยพีบีเอส เมื่อวันเสาร์ที่ 3 กันยายน 2544 เนื้อหาที่ถูกนำมาออกอากาศเป็นบางส่วนจากการสนทนากับ อนุทิน วงศ์สรรคกร นักออกแบบตัวอักษร และนักจัดวางตัวอักษรของไทย ลองมาดูและฟังทัศนคติของคุณอนุทิน แห่งคัดสรรดีมากกันครับ รายการถ่ายทำ ตัดต่อและคัดเลือกคำถามได้ดีมากๆ ครับ โดยเฉพาะ อ.อนุทิน ที่นอกจากจะให้ความรู้เรื่องการออกแบบตัวอักษรแบบไม่กั๊กแล้ว ยังช่วยขยายทัศนคติของนักออกแบบ ไม่ใช่แค่ออกแบบตัวอักษรนะ-แต่เป็นนักออกแบบทุกแขนงเลยล่ะ-ที่สำคัญฟังแล้วฮึกเหิมสุดๆ เลยครับ
[swfobj src=”http://www.f0nt.com/wp-content/uploads/2011/09/leftovers-plus.swf” width=”450″ height=”350″]
เป็นฟอนต์ตัวที่สองในชีวิตของเครทคุง (รอบแก้ไขใหญ่) ต่อยอดจากของเดิมด้วยการเติมตัวอักษรพิมพ์เล็กลงไป กว่าจะทำเสร็จก็แทบแย่ ไหนเวลาก็ไม่ค่อยจะมี แถมดองเค็มเก่งอีกแน่ะที่มาของชื่อ ก็เหมือนกับตัว Leftovers แหละครับ เพียงแค่ต่อท้ายด้วย Plus ซึ่งก็ตรงๆ ตัวว่า “เพิ่ม” ตัวพิมพ์เล็กเข้ามาด้วย
ฟอนต์.คอม เป็นเว็บไซต์สำหรับผู้สนใจในการออกแบบ ใช้งานฟอนต์ และแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการออกแบบอื่นๆ ลิขสิทธิ์ของผลงานฟอนต์ทุกชิ้นที่ปรากฏ เป็นของผู้สร้างสรรค์ ซึ่งอนุญาตให้เราเผยแพร่ และอนุญาตให้คุณดาวน์โหลดฟอนต์ต่างๆ ไปใช้งานได้ฟรี เว้นแต่จะมีการกำหนดสัญญาอนุญาตเป็นพิเศษ (ซึ่งระบุไว้ในเอกสารแนบหรือข้อความแสดงสัญญาอนุญาตของแต่ละฟอนต์) … เราขอเป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อนเล็กๆ ให้กับวงการออกแบบกราฟิกร่วมสมัยของไทยให้โตวันโตคืน .. ทั้งนี้ เรายินดีรับเผยแพร่ฟอนต์จากผู้สร้างสรรค์ทุกท่าน (อ่านกติกาได้จากในฟอรัมจ้ะ)
Powered by ร้านสกรีนเสื้อยืดโมนามาเฟีย | นโยบายความเป็นส่วนตัว •