ดาวน์โหลดฟอนต์
เริ่มแรกอยากได้ฟอนต์ที่ให้ความรู้สึกพริ้วไหว แต่ไม่ใช่แบบพริ้วจนอ่อนละชอยเกินไปนัก อยากให้คงดูเป็นมาตรฐานเอาไว้ ทั้งนี้โดยการทำให้ปลายเส้นมีความมนและจรดปลายแหลม และจะพริ้วมากยิ่งขึ้นเมื่อใช้สไตล์ Italic มีความเข้ากันได้อย่างไม่น่าเชื่อ
ฟอนต์ เอสดี แรงเวอร์ เป็นฟอนต์ที่ได้แรงบันดาลใจจาก เครื่องดื่ม แรงเวอร์ พอดีเดินเข้าไปในร้านสะดวกชื้อเห็นมีเครื่องดื่มหลายชนิด แต่ไปสะดุดตรงยี่ห้อพอดี เลยนำมาต่อยอดเป็นตัวอักษรทั้ง 44 ตัว ทำเป็นฉบับเต็มขึ้นมา นำมาแบ่งปันให้เพื่อนๆ ในสายงานกราฟิก ห้างร้าน บริษัท องค์กร และหน่วยงานอื่นๆ ที่ต้องการนำตัวหนังสือไปใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานของตัวเองได้ใช้กัน
ฟอนต์ Akkhara-อักขรา ชุดนี้ นับเป็นฟอนต์ตัวเมือง ในปัจจุบันสมัยพุทธศตวรรษที่ 26 เป็นโปรเจกต์งานร่วมมือกันระหว่างคุณ uvSOV และ spFONT ตามนโยบาย Work from home โดยผมเป็นผู้ทำตัวอักษร และได้ความร่วมมือจากคุณ uvSOV ช่วยจัดการเรื่องเทคนิควิชาการ
มนต์นภา เป็นแบบอักษรที่รับแรงบันดาลใจจากแบบอักษร Cooper Black ผสมผสานกับสไตล์ในแบบ Modernist ที่แต่เดิม Cooper Black จะเป็นสไตล์แบบ Humanist และเพิ่มสไตล์ให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น
เป็นตัวอักษรแบบ CraftFonts แนวศิลปหัตถกรรมจักสานพื้นบ้านไทยๆ สำหรับงานพิเศษเฉพาะกิจ เหมาะสำหรับภูมิปัญญาฟอนต์บ้าน ผู้ที่นิยมชมชอบอนุรักษ์ของเก่าๆ สะสมเป็นฟอนต์กรุคอลเลกชันโบราณ
เอสดี ไฟท์เตอร์ เป็นฟอนต์ที่ได้แรงบันดาลใจจากโฆษณารถโตโยต้า รีโว ซึ่งมีข้อความ “ตัวตนของฅนจริง” เลยอยากจะทำเป็นฟอนต์ขึ้นมา รูปร่างฟอนต์ ออกแนวเหลี่ยมๆ ดูแข็งแกร่งมีพลังดี นำมาให้เพื่อนๆ สายงานกราฟิก และหน่วยงานอื่นๆ ได้ใช้กัน
เป็นฟอนต์ที่เกิดจากการที่หัวหน้าอยากได้คำพูดที่เหมือนตัวโลโก้ที่ไม่ใช่การพิมพ์ เลยจำเป็นต้องทำตัวอักษรใหม่ทั้งหมด ทำไปทำมาเลยลองเอามาวางดู เอ๊า เกือบได้ ก-ฮ เลยนะเนี่ย เลยตัดสินใจทำให้ครบ ไหนๆ ก็ทำแล้วเลยทำในส่วนของภาษาอังกฤษด้วยเลย
มนรดก จากความตั้งใจเดิมที่จะตั้งชื่อว่า Opun Slab เป็นเพราะฟอนต์ชุดนี้ได้แรงบันดาลใจจากฟอนต์อบอุ่นเดิม ที่ต้องการเพิ่ม Serif แบบ Slab เข้าไป แต่เมื่อทำมาได้จนเห็นรูปลักษณ์โดยรวม จึงตัดสินใจ เปลี่ยนชื่อฟอนต์เพราะการมี Serif แบบ Slab ให้อารมณ์ที่ดูเก่า Vintage ในภาพรวม อีกทั้งได้ Opun เป็นแบบตั้งต้น เหมือนเป็นการสืบสานต่อกันมาจึงตั้งชื่อว่า “มนรดก”
ฟอนต์ฝักขาม ๑๙๕๔ ถอดแบบมาจาก จารึก ลพ.๙ โดยอ้างอิงข้อมูลจาก หนังสือ “อักษรฝักขามที่พบในศิลาจารึกภาคเหนือ” ใช้สำหรับเอกสารที่อยู่ในช่วง พ.ศ. ๑๙๕๔ – ๑๙๙๙ นะจ๊ะ