ดาวน์โหลดฟอนต์
มีเฉพาะภาษาอังกฤษเท่านั้น และยังเป็น beta type อยู่ เพื่อค้นหาความผิดพลาดในการจัดทำฟอนต์ในลำดับต่อไป
ในที่สุดก็ทำเสร็จจนได้ครับ ด้วยเวลา 20 วันไม่ขาดไม่เกิน ฟอนต์ตัวแรกนี้ได้แรงบันดาลใจจากกิเกสส่วนตัวของคนทำเอง ที่อยากมีฟอนต์สวยหรูมีสไตล์อ่านง่ายมีระดับที่เห็นได้ตามนิตยสารฮิปๆ ของต่างประเทศ (VOGUE Paris, MARK Magazine <<แรงบันดาลใจหลัก) ใช้แต่ไม่มีปัญญาซื้อ เพราะส่วนใหญ่เป็น “คอมเมอเชี่ยวฟอนต์” และมีแต่อักขระภาษาอังกฤษ
สำหรับฟอนต์ตัวนี้ผมทดลองออกแบบผ่านหน้าเว็บ fontstruct.com เพราะเครื่องมือที่ให้ในเว็บนั้นสนุกมากๆ เหมือนเอาอิฐรูปทรงต่างๆ มาเรียงต่อกัน เสร็จแล้วก็ออกมาเป็นตัวอักษรได้ ลองเล่นดูนะครับ สนุกใช่ย่อย ทำภาษาไทยได้ด้วย
ฟอนต์นี้ได้รับแรงบันดาลใจ จาก โทรศัพท์มือถือของโนเกีย รุ่น 3310/3315 ซึ่งเป็นรุ่นที่ผมใช้งานแล้วชอบมาก ไม่เพียงรูปลักษณ์ ฟังชั่น ความทนทานแล้ว ตัวหนังสือบนหน้าจอยังใหญ่และอ่านได้ง่ายอีกด้วย เหมาะสำหรับคนที่สายตาปกติไปจนถึงคนที่สายตาไม่ค่อยดี ซึ่งทุกวันนี้ยังไม่มีมือถือรุ่นไหน ที่จะมาทดแทน 3310 ได้อีกแล้ว
จึง ได้จัดทำฟอนต์นี้ขึ้นมาเพื่อรำลึกถึง 3315 ตัวแรกและตัวเดียวของผม ที่ผมพามันไปบุกเขา ลุยห้วย ทำตกจากยอดภูกระดึงมาแล้ว มันก็ยังใช้ได้ดี ที่ผมภูมิใจอีกอย่างก็คือ มันรับคลื่นได้ดีมากๆ ปีนั้นปี 45 ที่ผมไปยืนอยู่บนยอดภูกระดึง มีผมเพียงคนเดียวที่ใช้คลื่นดีแทคแล้วโทรออกได้ ในขณะที่คนอื่น ใช้รุ่นราคาแพงกว่าผมยังโทรไปไหนไม่ได้ ทั้งๆ ที่ใช้คลื่นที่เขาคุยนักคุยหนาว่าทะลุทะลวง…
ฟอนต์ตัวที่สามในชีวิตของผม สร้างโดยใช้ structure เดียวกับ Ti_Circular จึงจะเห็นว่ามีลักษณะที่คล้ายกันอยู่บ้าง
ตัวภาษาอังกฤษเปลี่ยนนิดๆหน่อยๆเพื่อให้เข้ากับตัวภาษาไทย
ถ้าต้องการให้คำแนะนำหรือเสนอแนะ สามารถติดต่อได้ทันทีครับ
ASG Aksornsanan (เอเอสจี อักษรสนาน)
แนวความคิดในการออกแบบ คงจะไม่มีอะไรมากไปกว่าการเห็นงานออกแบบสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ ของวงดนตรีในแนว Disco-Punk / Rave / Electro-Clash ครับ การใช้ฟอนต์ที่มีรูปร่างทางเรขาคณิต กลมๆ แหลมๆ เหลี่ยมบ้าง ก็เลยคิดว่าน่าจะลองทำออกมาให้เป็นภาษาไทยดูบ้าง ออกแบบปรับไปปรับมาอยู่นานสองนาน ทำค้างไว้ช่วงนึง แล้วก็เกิดอาการขี้เกียจ ไม่ได้ทำต่อ จนมาฮึดทำจนเสร็จเมื่อไม่มีวันมานี้เอง ตัวอักษรในชุด ประกอบไปด้วยตัวอักษรทั้งไทย และโรมัน รวมทั้งตัวเลข อักขระพิเศษ เท่าที่ควรจะได้ใช้ในการทำงานจริง เหมาะสำหรับการนำไปใช้เป็นตัวหัวเรื่อง เพราะอ่านยาก แต่อ่านได้นะครับ โดยเฉพาะการทำไปใช้บนปกซีดี โปสเตอร์ หรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่น่าจะเกี่ยวข้องกับแนวดนตรีเหล่านี้ (ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น) เป็นหลัก ส่วนงานประเภทอื่นๆ ก็ใช้ได้ครับ แล้วแต่การนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผล ตามความต้องการของนักออกแบบ
[swfobj src=”http://www.f0nt.com/wp-content/uploads/2009/06/2551-dotgital.swf” width=”450″ height=”400″ align=”center”]
สุขสันต์กับจุดจุดจุดแล้วก็จุด