อาลักษณ์
SP_Alak (อาลักษณ์) ทำมาจากตัวอักษรอาลักษณ์ ที่เราเคยเห็นเคยเขียนกันมาแล้ว เพียงแต่ปรับมาเป็นรปแบบบรัชแทน
ทอศิลป์ สุชาติ (Torsilp SuChat)
ครูยุคก่อนน่าจะเขียนตัวหนังสือลายมือแบบ ตัวอาลักษณ์ ได้เกือบทุกคน ”ฟอนต์ ทอศิลป์ สุชาติ” ก็เป็นตัวอักษรแบบตัวอาลักษณ์เหมือนกัน แต่จะมีความแตกต่างบ้างตามจังหวะการเขียนลายมือ เช่น ตัว ก. ไก่ และตระกูลคล้ายกัน หรือตัว ว. แหวน หรือตัว ส. และ ตัว ล. ลิง และ อ. อ่าง ฮ. นกฮูก
ทอศิลป์ ไทยไทย (Torsilp ThaiThai)
ตอนเรียนครู อาจารย์ให้คัดลายมือแบบนี้ ก็ได้มาแบบงูๆ ปลาๆ พอเขียนได้แต่ไม่สวยเลย เพราะน้ำหนักมือตัวเองตอนลากเส้นตรงขึ้นและลงไม่เคยสม่ำเสมอ ลายมือตัวอักษรแบบนี้ก็จะออกมาไม่คงที่และไม่สวย
ฟอนต์ ฉัททันต์ โดยลายมือ อ.จิรพันธุ์ สัมภาวะผล แรงบันดาลใจจากฟอนต์ไทยย่อ ในเอกสารโบราณ วัดบ้านแลง จ.ระยอง บันทึกไว้ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์
วัส จินดาอาลักษณ์ (was@jindaArlux)
ลายมือขอ อ.จินดา เป็นลายมือที่งดงาม ควรค่าแก่การนำมาทำฟอนต์ ด้วยเพราะะความชอบในลายมือของ อ.เป็นการส่วนตัว ต้องขอขอบพระคุณ อ.จินดา มา ณ ที่นี้
พระยาศรีสุนทรโวหาร (Sundorn_Noi)
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ โดยศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรมและท้องถิ่น ร่วมกับ สำนักงานจังหวัดฉะเชิงเทรา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดฉะเชิงเทรา สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา จัดทำฟอนต์อักษรรูปแบบ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติ ในวาระที่องค์การยูเนสโก ประกาศยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านการศึกษาและวัฒนธรรม ประจำปี ๒๕๖๕ สำหรับใช้เผยแพร่ ในระบบการพิมพ์จากคอมพิวเตอร์ได้อย่างกว้างขวางทั่วประเทศ
ต้นแบบจากลายมือเขียนชอล์กของพระอาจารย์ วัดอาวุธวิกสิตาราม… ท่านได้อนุญาตให้นำฟอนต์ตัวนี้มาเผยแพร่ได้ครับ
ฟอนต์ชุด อิทธิบาท๔ (SOV_Iddhipada)
ฟอนต์ชุด ประกอบด้วยฟอนต์ 4 รูปแบบ1. ฉันทะ อักษรตัวมนๆ เดินเส้นแนวจารึกพ่อขุนราม2. วิริยะ อักษรหักเหลี่ยมย่อมุม จากอักษรไทยย่ออยุธยา3. จิตตะ อักษรตวัดหางยาวแคบ แบบตัวอาลักษณ์ธนบุรี4. วิมังสา อักษรแนวน้อยๆตามสมัยนิยม ตัดเส้นโค้งและมุมฉากทิ้ง
เอาทรงการเขียนจาก กวี ท่านอังคาร ลักษณะอักษรจากไทยย่อ ต้นทางฝรั่งเศส และอักษรปัจจุบัน ผสมกัน เส้นแบบลายมือเขียนจากปากกาหมึกซึมเส้นเล็กหน่อย