display
Pritsana เป็นอักษรแบบแคบ มีเซอริฟ โดยที่เส้นแนวนอนและแนวตั้งมีความหนาใกล้เคียงกัน ในส่วนของเซอริฟนั้นมีความเปรียบต่างจากความหนาของเส้นโครงโดยรวมอย่างชัดเจน ส่วนปลายของเซอริฟทำให้มีความแหลมคมเป็นพิเศษ ส่งผลให้โดยภาพรวมรู้สึกถึงความลึกลับ น่าอึดอัด อันตราย และ “ปริศนา” อันดำมืด
ฟอนต์สวัสดิโสภา ต้นทางจากประตูพระบรมมหาราชวัง เหมาะตัวพาดหัว เพราะมีการเปลี่ยนตัวอักษรอัตโนมัติ
ฟอนต์ DM Oceanic (ดีเอ็ม โอเชียนิค) คือฟอนต์สไตล์ Serif ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากภาพยนตร์เรื่อง The Little Mermaid 2023 เหมาะกับการนำไปทำเป็นพาดหัวหรือข้อความสั้นๆในโปสเตอร์ต่างๆ
Baramee เป็นอักษรแบบแซนเซอริฟ โดยที่เส้นแนวนอนมีความหนาครึ่งหนึ่งของเส้นแนวตั้ง ทำให้เกิดความเปรียบต่างขึ้นแต่ไม่มากจนเกินไป ปลายหัวของตัวอักษร (Terminal) เป็นตัดตรงในแนวตั้ง ตัวอักษรไทยมีการยิบยืมรูปแบบเดือย (Spur) ของตัวละตินมาทำเป็นหัวของตัวอักษร ส่งผลให้โดยภาพรวมรู้สึกได้ถึงความภูมิฐาน ดูมี “บารมี” ในขณะเดียวกันก็ให้ความรู้สึกร่วมสมัย
มัลติเวิร์ด Variable Font Project 2024
มัลติเวิร์ด Variable Font (จักรวาลฟอนต์ อักษรย้อนกลับ) รูปแบบอักษรแปรผัน มากชั้นน้ำหนัก ไร้ขอบขีดจำกัด สามารถพลิกแพลงแปลงร่าง ได้หลากหลายรูปแบบ บางไปหนา เหลี่ยมเปลี่ยนไปหากลม และยังวัฎฎวนหมุนยลย้อนกลับไปหาจุดเดิม
Anantason Mon เป็นอักษรแบบแซนเซอริฟที่พัมฒนาต่อมาจากแบบอักษร Anantason Reno มีสไตล์ให้เลือกใช้อย่างมากมายตั้งแต่ตัวบางสุดจนถึงหนาสุด และแคบสุดจนถึงกว้างสุด รวมแล้ว 162 สไตล์ รองรับตัวอักษรละตินเซ็ต 1 และอักษรไทย
เอฟซี จงเจริญ (FC Jong Jaroen)
จากฟอนต์เขียนมือบนป้าย สู่ลายเส้น Outline บนคอมพิวเตอร์ – แรงบันดาลใจจากอักษรแบบตัวนริศ ที่มีจุดเด่นด้วยลักษณะการเขียนแยกส่วนด้วยปากกาหัวตัด หรือพู่กันแบน อดีตเป็นลายเส้นมาตรฐานสำหรับงานเขียนป้าย แต่ปัจจุบันลดบทบาทให้พบเห็นได้บนป้ายร้านไทย-จีนแบบดั้งเดิม
ชุดฟอนต์พาดหัว ที่จะนำความสุขในอดีตข้ามเวลากลับมาเติมเต็มคอนเทนท์ของคุณด้วยความทรงจำที่ดี
ความเป็นมา : เป็นฟอนต์ที่ทำแล้วถูกทิ้งไว้ เนื่องจากเจอสภาวะ burnout ในการทำฟอนต์ ปัจจุบัน (2567) พยายามฟื้นพลังในการทำฟอนต์ เลยกลับมารื้อๆ ฟื้นเสริมแรงให้ตัวเอง โหลดไปใช้กันเถอะ