experiment
ฟอนต์ที่จัดการด้วยความระมัดระวัง – Create with care
“ชิ้นส่วน” คือโจทย์ของการออกแบบ ที่ต้องการให้แต่ละตัวอักษรประกอบกันด้วยชิ้นส่วนมากกว่าหนึ่งชิ้นโดยที่แต่ละชิ้นไม่ติดกันแต่บรรจบกันอย่างแผ่วเบาและลงตัว
ฟอนต์ลายมือน่ารัก ฟอนต์มีไม่หัว ฟอนต์ 2D ทำมาจากการปั้น 3D มีด้วยกัน 3 น้ำหนัก คือ บาง ปกติ หนา นูร่าราดาเปิดให้ใช้ฟรีงานส่วนตัวและงานทั่วไป น้ำหนักบางนะคะ
กำเนิดอักษรไทยในร่างละติน ดึงโครงสร้างและสัญลักษณ์จากตัวละติน มาประกอบขึ้นใหม่ในภาษาไทย ออกแบบ ณ สุดขอบความสามารถในการอ่าน ท้าทายผู้ชมให้เข้ามาสัมผัสด้วยตนเอง
ทดลองว่าทำฟอนต์ vector ให้เบลอ มองได้ไม่ชัด ต้องมองไกลๆ หรือหรี่ตา หรือย่อให้ตัวเล็กแล้วต่อยอดด้วยการซ่อนรูปภาพไว้ในตัวอักษร จะเห็นได้ต้องเอา filter (กดปุ่ม | ) มาซ้อนบังไว้อีกชั้นนึง ถ้ากด bold จะได้ฟอนต์เกินเบลอ (เกินเบอร์นั่นแหละ) เลื่อน filter จะเห็นอักษรขยับยุกยิกๆ ได้
ทดลองทำฟอนต์ที่มีหางเป็นพวงด้านล่าง คล้ายๆตัว g ตัว y เพื่อประกอบกับหางพวงด้านข้าง โจทย์ยากคือ ภาษาไทยมี สระอุ อู อยู่ตรงนั้น แล้วยังมีพยัญชนะหางยาวอีก… จะทำไงไม่ให้สับสน
ทดลองทำฟอนต์มี shading โดยใช้ลายเส้น manga และเลือกเทคนิค reuse glyph เพื่อลดขนาดฟอนต์เหมาะใช้กับพวกคำสั้นๆ คำย่อ logo ตัวใหญ่ๆ คำยาวๆ ใช้ได้แต่ไม่เด่น
ฟอนต์เกลียว พิมพ์แล้วอักษรค่อยๆ ม้วนเป็นเกลียวเอง คำสั้นๆ พออ่านได้ เป็นประโยคอย่าได้ใช้งาน
ฟอนต์เด้งดึ๋ง เป็นฟอนต์ปรกติ มี 5 แบบอักษรไทย ใช้แค่ 5 frames แล้ว loop ได้เลย .. ส่วนการทำ animation แล้วแต่ถนัดเลยครับ วิธีการเปลี่ยนเป็น frame ถัดไป ให้พิมพ์ ฯ ก่อนอักษรตัวแรกของคำ แล้วเพิ่มไปเรื่อยๆ