history
เก็บตก “ค่ายพัฒนานักออกแบบตัวพิมพ์” 1/3
นานๆ ทีจะเขียนบล็อกบทความยาวๆ สักครั้ง ด้วยเห็นว่าในครั้งนี้ผม (ในนามของเว็บมาสเตอร์ฟอนต์.คอม) ได้รับเกียรติจาก “ชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย” ให้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินผลงานและวิทยากรร่วม เลยได้มีการสรุปการบรรยายและบรรยากาศต่างๆ มาให้ผู้สนใจได้อ่านกัน ยาว(ไม่)หน่อยนะครับ แต่สนุกน่าดูเลยแหละ!
[InfoGraphic] วิวัฒนาการเทคโนโลยีสิ่งพิมพ์โลก
วันนี้ผมมี InfoGraphic สวยๆ มาให้ดูครับ จากฝีมือนักออกแบบชาวบราซิลชื่อคุณ Flávia Marinho เป็นเรื่อง(และภาพ)เกี่ยวกับวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีการพิมพ์ของมนุษย์เรา ตั้งแต่สมัยโบราณกาลที่เขายอมรับกันว่าการพิมพ์ครั้งแรกเกิดขึ้นสมัย 618 ปีก่อนคริสตกาลในประเทศจีน แล้วก็เริ่มไล่ลามมาเรื่อยๆ จนกระทั่งทำออกมาเป็นหนังสือ (สมัยนั้นก็จะเป็นเรื่องการเผยแผ่ศาสนา) แล้วก็ผ่านร้อนผ่านหนาว และผ่านรอยต่อของเทคโนโลยีช่วงต่างๆ มาจนถึงขีดสุด และยังไม่หยุดแค่นั้น เพราะเมื่อผู้ใช้ตามบ้านอย่างเราๆ เริ่มใช้ iPad (หรือถ้าเมืองนอกก็จะฮิต Kindle) กันจนดาษดื่นแล้ว โลกของวงการสิ่งพิมพ์ก็จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป!
กว่า 50 ปีมาแล้วที่ฟอนต์ตรา Helvetica ปรากฏตัวขึ้นมาบนโลก และสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับวงการออกแบบมากมาย จนเรียกได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่าฟอนต์ Helvetica นี้เป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญสู่การออกแบบสมัยใหม่ ทั้งๆ ที่หน้าตาของมันเรียบง่าย แต่ก็แน่ล่ะ กว่าจะผ่านอะไรต่อมิอะไรมาจนมันเรียบง่ายได้ขนาดนี้ ก็ต้องฝ่าฟันอุปสรรคมาน่าดู .. จนทุกวันนี้ถ้าคุณเดินอยู่ในเมืองสักหน่อย เชื่อเถอะครับว่าไม่ว่าจะหันหน้าไปทางไหน ก็ต้องเจอเข้าสักแว้บล่ะน่า (ถ้าเป็นเมืองนอกนี่เจอมันทุกหัวโค้งเลย) .. เล่ามายาวเหยียดขนาดนี้ คุณผู้อ่านที่ไม่เคยรู้จักหรือไม่เคยคิดจะสัมผัสมันมาก่อน คง
ประวัติย่นย่อของเครื่องหมาย Ampersand (&)
มีบทความดีๆ ว่าด้วยประวัติศาสตร์และที่มาที่ไปของเครื่องหมาย ampersand (ก็คือเครื่องหมาย “&”) นั่นแหละ ที่คุณอาจจะสงสัยว่าทำไมต้องออกแบบหน้าตาให้มันพิลึกกึกกือขนาดนั้นด้วยนะ ผมเองก็เพิ่งรู้เหมือนกันว่ามันมาจากการควบอักษร e และ t ในภาษาละติน แล้วบร๊วบไปบร๊วบมาจนกลายเป็นขนม Aunty Anne\’s ไปในที่สุด! โอ้ว สนใจกันแล้วใช่มะล่า กดไปอ่านและดูรูปแบบที่หลากหลายของเครื่องหมาย “&” กัน ว่าถึงจะชื่อ ampersand เหมือนกัน แต่ดีไซน์ของแต่ละฟอนต์นั้นแตกต่างกันมหัศจรรย์พิสดารขนาดไหน