traditional
ฟอนต์ลายไทยชุดที่ 2 นำประสบการณ์จากฟอนต์นพมาศ มาปรับปรุง
ปรับหัวตัวอักษร เป็นแบบเชิดขึ้น พอร่างออกมาแล้วนึกถึงพญานาค จึงทำเป็นรูปพญานาค
ลดทอนรายละเอียดลงเพื่อให้เรียบง่ายขึ้น แต่ยังคงพอดูออกว่าเป็นพญานาค
ได้แรงบันดาลใจมาจากตัวริบบิ้นที่พบเจอตามป้ายวัดในชุมชนต่างๆ พยายามออกแบบให้ความรู้สึกเก่าๆ บ้านๆ วัดๆ ห่างๆไกลๆ รวมถึงพยายามลบมุมต่างๆให้มล ไหลๆ เป็นที่มาของชื่อ น้ำมล
ฟอนต์ฟอนต์นี้ ผมสร้างขึ้นมาให้คล้ายๆ กับลายสือไทของพ่อขุนรามคำแหงฯ (คล้ายๆ นะ ไม่ได้แกะก๊อปวางก๊อปวาง หรือ copy paste copy paste) ผมว่ามันเขียนคล้ายๆ ของพ่อขุนฯ อยู่พอสมควรครับ
SNT Anouvong™ (เอสเอ็นที อนุวงศ์™)
ก่อนอื่นผมก็ขอขอบพระคุณ หลวงพี่ยิ้ม (Allsmile) กับคุณ Suthep Chanchoophol มากครับที่ได้ให้คำปรึกษามาโดยตลอด และที่ขาดไม่ได้คือเว็บ f0nt.com ที่ได้ทำให้ผมได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องฟอนต์.
ที่มาของฟอนต์นี้ เกิดจากวันที่ไปทำบุญ 100 วัน คุณแม่เสีย ก็พอมีเวลาและสายตาที่ว่างพอ เหลือบไปเห็นชื่อศาลาเป็นแบบอักษรที่สวยและกล้าหาญมาก ถ้าทำฟอนต์นี้ขึ้นมาเพื่อระลึกถึงแม่ และมีคนเอาไปใช้ประโยชน์บ้างก็คงดี
ฟอนต์ดานวิเวก TH Dan Vi Vek เป็นฟอนต์เพื่อพุทธศาสนา ขัดเกลามาจากลายมือของพระอาจารย์สุชาติ สุชาโต ที่ท่านได้มีเมตตาเขียนให้ ปัจจุบัน (พ.ศ. 2558) จำพรรษาที่ ประเทศสหรัฐอเมริกา
“…เพราะฉันได้อุทิศชีวิตของฉันให้กับบางสิ่งที่เป็นประโยชน์ ในฐานะเป็นผู้รับใช้ที่ต่ำต้อยในงานศิลปะของฉัน ชีวิตนั้นสั้น….แต่ศิลปะยืนยาว” — ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งวงการศิลปะในประเทศไทย
แรงบันดาลใจที่ผมได้ทำฟอนต์ตัวนี้ขึ้นมา เนื่องจากผมเป็นช่างเขียนป้ายด้วยมือมาก่อน ฟอนต์ตัวนี้เป็นฟอนต์ที่ใช้ได้หลากหลายมาก เช่น งานประเพณี งานแต่ง งานบวช ป้ายสแตนด์หมอลำ ลิเก วงดนตรีลูกทุ่ง ฯลฯ
พอมาถึงยุคที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ งานสติ๊กเกอร์ งานอิงค์เจ็ต เริ่มเข้ามามีบทบาทมากๆ งานเขียนเขียนมือก็ค่อยๆ เลือนหายไป ผมก็เลยคิดว่า ทำยังไงให้ฟอนต์ตัวนี้จะยังคงอยู่ไม่เลือนหายไปกับช่างเขียน
เป็นฟอนต์สูงยาว เลยให้ชื่อว่า “ไผ่ตรง” มีสองแบบ คือ ตัวปรกติ กับตัวเอียงเล็กน้อยแต่พองาม 55555
เริ่มจากเขียน speedball เล่น แล้วเกิดชอบหัวของ ซ.โซ่ เลยพัฒนาตัวอื่นๆ ขึ้นมา โดยล้อตามตัว ซ.โซ่ แล้วเอามาขึ้นโครงใน Fontlab แล้วปรับรายละเอียดอีกที
ปลายของเส้นทำตัวอักษรจะแตกต่างกันไปนิดๆ หน่อยๆ พยายามจะไม่ให้เป็นเส้นตรงเกินไป
Alsmile Lane Chang และ Alsmile Lane Xang
ฟอนต์ “ออลสไมล์ ล้านช้าง” ฟอนต์นี้มีลักษณะเฉพาะตัวที่เกิดจากความชื่นชอบใจของข้าพเจ้าเอง
แต่จะทำอย่างไร สไตล์ฟอนต์ก็ย่อมสะท้อนบุคลิก-ความเป็นมาของบุคคลที่ทำได้
จึงสรุปไว้ในคำว่า “เลือดทุกหยดเป็นของชาติ เรามิอาจลบเลือนบิดเบือนหาย”
เป็นฟอนต์ที่ทำขึ้นมาจากการฝึกเรียนรู้ที่จะบริโภคเทคโนโลยีด้วยปัญญา
ฟอนต์นี้เป็นการฝึกหัดทำ จึงอาจมีการพัฒนาปรับปรุงไปได้อีก หากข้าพเจ้าเห็นว่าจะทำต่อไปได้