วัด
นิมิต เป็นแบบอักษรที่เลียนแบบสไตล์การเขียนด้วยปากกาหัวตัด เพื่อให้ลักษณะตัวอักษรออกมาเป็นอักษรวิจิตร เหมาะสำหรับสื่อประชาสัมพันธ์ที่การสื่อถึงความเก่าแก่ มีมนต์ขลัง
เคอาร์ต เหนือดวง (Kart-Nuea Duang)
เคอาร์ต เหนือดวง (Kart-Nuea Duang) เป็นฟอนต์ที่เขียนขึ้นจากลูกเพจอยากให้เขียนฟอนต์ในอารมณ์ใบงาน พิธีพุทธาภิเษก พระเกจิต่างๆ เน้นอักษรที่มีอารมณ์ปลุกเสก เน้นใช้กับข้อความไม่ยาวมาก เลยบรรจุลายกนกลงในฟอนต์เพื่อให้ง่ายกับการใช้ครับ สามารถดีดฟอนต์ในอักษรให้เป็นลายกนกได้เลยครับ ฝากติดตามผลงานด้วยครับ
เคอาร์ต โขนไทย (Kart-Thai-Khon)
เคอาร์ต โขนไทย (Kart-Thai-Khon) เป็นฟอนต์ที่เขียนขึ้นจากอารมณ์โขนไทย จังหวะจะดูย่อขาไปด้านหน้า วางเท้าแบบผู้แสดงโขน สามารถใช้กับข้อความอักษรยาวมากได้ ในส่วนภาษาอังกฤษก็ออกแบบมาเพื่อใช้กับโลโก้ร้านอาหารไทย กิจการไทยเป็นหลัก เน้นใช้กับข้อความไม่ยาวมาก
เคอาร์ต วิษณุ (Kart-Vishnu)เป็นฟอนต์ที่เขียนขึ้นเพราะไอ้เราก็เด็กช่างด้วยมั้ง อารมณ์แรกที่อยากได้คือสไตล์ไทยๆ แนวเด็กช่าง อารมณ์ร็อกหน่อยแต่ต้องคุมแนวไทยให้ดูดุๆ หน่อย เลยได้ผลงานชิ้นนี้มาครับ หวังว่าสายสกรีนเสื้อคงชอบครับ
แจกฟรี!! สำหรับใช้ส่วนตัวกับงานที่ไม่เกิดรายได้เท่านั้น ถูกใจ! ต้องการใช้เชิงพาณิชย์ ราคาเริ่มต้น 290.-
Sathukarn เป็นอักษรแบบสลับแซนเซอริฟสำหรับตัวอักษรละติน และสำหรับอักษรไทยจะเป็นแบบแซนเซอริฟ มีหัวที่ยื่นออกมาในลักษณะม้วนเข้าเป็นวงกลมทึบ มีให้เลือกใช้ถึง 14 สไตล์ รองรับตัวอักษรละตินเซ็ต 1 และอักษรไทย เหมาะสำหรับสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ที่เน้นในเรื่องความสงบ ความศรัทธา ไม่ว่าจะอยู่บนป้ายงานบุญต่าง ๆ หรือภาพสวัสดีวันจันทร์ในกลุ่มไลน์ ก็เข้ากันได้ดี
สังฆมณฑล เป็นอักษรแบบพาดหัวมีรูปลักษณ์ที่ให้ความรู้สึกขลัง ศักดิ์สิทธิ์ ปลายตัดคม ที่ 45 องศา เลียนแบบการเขียนด้วยปากหัวตัด ผสมผสานกับรูปลักษณ์แบบมาตรฐาน เหมาะสำหรับการนำไปใช้พาดหัวบนสื่อต่าง ๆ ที่เน้นไปทางความเชื่อ ความศรัทธา
เคอาร์ต รามเกียรติ์ (Kart-Ramakien)
เคอาร์ต รามเกียรติ์ เป็นฟอนต์งานไทยที่ออกแบบให้ใช้งานป้ายได้ด้วย โดยเฉพาะงานฉลุอักษรงานไม้ CNC งานป้ายอักษร ใช้เวลาเขียนนานพอสมควร เป็นงานยากสำหรับงานหลบหางอักษร เขียนแก้มานับไม่ถ้วน
เป็นฟอนต์ที่บูชา ครูชุ่ม สุวรรณช่าง เป็นครูช่างของเมืองเพชร ย่านวัดเกาะ จุดต้นแบบมาจากคำว่าเจียมจิต ลายมือของครูชุ่ม แล้วก็รวบรวมฟอนต์ลักษณะเดียวกันรายรอบย่านวัดเกาะ และเพิ่มตัวละตินให้เป็นชุดฟอนต์ขึ้นมา